สรุป บทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

21/1/61

บทที่ 3

การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ


แนวคิดเชิงระบบ (Systens Approach)
              จากตัวอย่างที่เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซท์ แสดงถึงการปฏิวัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวงการธุรกิจ  จากการคิดค้นของบริษัทวิจัยการตลาดของ NFO โดยใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของ TalkCity ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการทำงานของกลุ่มเป้าหมายออนไลน์ ช่วยในการพัฒนาสินค้า ช่วยสนับสนุนด้านลูกค้าหรืองานอื่นๆ ระบบสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพิ่มบทบาทในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในขั้นตอนการทำงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น  ทั้งการจัดการด้านการตัดสินใจและการร่วมมือในการทำงานเป็นกลุ่มให้เกิดความแข็งแกร่งในการต่อสู้ในเชิงธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเทคโนโลยีสานสนเทศบนอินเทอร์เน็ตและระบบสารสนเทศจะกลายเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จภายใต้สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
กำหนดปัญหาและแนวทางการแก้ไข (Defining Problems and Opportunities)
              และแนวทางแก้ไขได้ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของแนวคิดเชิงระบบ ปัญหา  สามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นภาวะพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไข คือ ภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ สัญญาณบอกเหตุจะต้องแยกออกจากคำว่าปัญหาโดยสัญญาณบอกเหตุ (Symptoms) หมายถึง ปัญหาสำคัญที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงแต่มีแนวโน้มว่าจะเกิด
การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
              การคิดอย่างเป็นระบบทำให้เข้าใจปัญหาและโอกาสในการแก้ไขที่ดีที่สุด ปีเตอร์ เซนก์ นักเขียนและที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ เรียกการคิดอย่างเป็นระบบว่าเป็น กฎข้อที่ (The Fifth Discipline) เซนก์ กล่าวว่า การจัดการคิดอย่างเป็นระบบไปพร้อมกับกฎข้ออื่นๆ ได้แก่ การควบคุมตนเอง (Personel Mastery)การไม่อคติและไม่ท้อแท้ (Mental Models) การแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกัน (S hared Vision) การเรียนรู้เป็นทีมงาน (Term Learning) เป็นสิ่งที่จะช่วยเติมเต็มความสามารถของบุคคลและความสำเร็จในธุรกิจของโลกที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเปรียบเทียบกับสำนวนที่ว่า การมองป่าคือการมองเห็นต้นไมทุกต้นในป่า
การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาอื่นๆ (Developing Alternative Solutins)
               มีแนวทางในการแก้ปัญหาหลายวิธี อย่าใช้วิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียวหลังจากที่กำหนดปัญหาอย่างเร่งรีบเพราะมันจะจำกัดทางเลือกของคุณและขโมยโอกาสในการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของทางเลือกอื่นๆ  และคุณยังเสียโอกาสในการรวบรวมข้อดีของแต่ละแนวทางอีกด้วย
การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริง (Design and Impiementing a Solution)
               เมื่อเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาแล้วจะต้องมีการออกแบบและนำไปประยุกต์ใช้จริง โดยอาศัยผู้ใช้เจ้าหน้าที่เทคนิค เพื่อช่วยในการออกแบบรายละเอียดและการนำไปใช้โดยปกติการออกแบบรายละเอียด (Design Specifications) จะกำหนดรายละเอียดในด้านต่างๆ ทั้งประสิทธิภาพของบุคลากร อาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ แหล่งข้อมูล และงานที่จะต้องทำเมื่อมีการใช้ระบบใหม่ แผนการนำไปประยุกต์ใช้ (Implementaion Plan) ที่กำหนดแหล่งข้อมูล กิจกรรม และระยะเวลาสำหรับขั้นตอนการนำไปใช้ที่เหมาะสม
การประเมินหลังการนำไปใช้ (Postimplementation Review)
               การตะหนักว่าแนวทางแก้ปัญหาที่นำไปใช้อาจล้มเหลวได้ในโลกแห่งความเป็นจริงอาจมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้แม้ว่าวิธีการนั้นจะถูกออกแบบเป็นอย่างดีก็ตาม
การใช้แนวคิดเชิงระบบ (Using the Systems  Approach)
               ลองนำแนวคิดเชิงระบบมาประยุกต์สู่แนวทางแก้ไขปัญหากับบริษัทที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในโลกธุรกิจอ่านกรณีศึกษาและร่วมกันวิเคราะห์  โดยใช้แนวคิดเชิงระบบแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน
ความขัดเจนของปัญหา (Statement of the Problem)
               ผู้จัดการ พนักงานขาย และลูกค้าได้รับสารสนเทศด้านสินค้าและบริการไม่ดีเท่าที่ควร ผลปฏิบัติงานด้านการขายในหน่วยงานเกิดความเสียหายจากกระบวนการขายที่ลดลง ซึ่งจำกัดความสามารถในการขายของพนักงานขายและสร้างความเสียหายในงานบริการแก่ลูกค้า
ความชัดเจนของความต้องการทางธุรกิจ (Staement of Business Requirements)
               การวางแผนกลยุทธ์ระยะยาวกับผู้จัดการและกลุ่มที่ปรึกษาด้านการจัดการ เพื่อกำหนดบทบาทเชิงกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศในบริษัทโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทแก่ลูกค้า ข้อได้เปรียบของระบบ POS คือกำหนดฐานงาน (Platform) ที่เป็นไปได้ในการสนับสนุนบทบาทของระบบสารสนเทศ ความเป็นไปได้อี่นๆ รวมทั้งระบบด้านการตลาด การกระจายสินค้า และการขยายสมาชิกไปยังพื้นที่อื่นๆ แผนการนี้ยังได้กำหนดความต้องการด้านอื่นๆ
แนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศ
 ในทุกวันนี้การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจด้วยการพัฒนาระบบข้อมูล เป็นความรับผิดชอบของนักธุรกิจมืออาชีพและในฐานะผู้ใช้ คุณสามารถรับผิดชอบสำหรับการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบสารสนเทศเดิมสำหรับบริษัทของคุณเอง ซึ่งจะกำหนดแนวคิดในการแก้ปัญหาและแสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาด้วยระบบสารสนเทศได้ช่วยให้ผู้ใช้และองค์กรได้รับการพัฒนาให้ดี
วงจรการพัฒนาระบบ (Systems Development Cycle)
               เมื่อแนวคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหาได้ถูกประยุกต์สู่การพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาด้านธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ จะเรียกขั้นตอนนี้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือ การพัฒนาระบบงาน ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ได้รับการกำหนดแนวทางในการออกแบบและนำไปใช้โดยกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบในกระบวนการนี้ ผู้ใช้และผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศจะออกแบบระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศขององค์กร ที่รู้จักกันในชื่อ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การศึกษาความเป็นไปได้
               เนื่องจากกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศมีค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการสำรวจระบบในการศึกษาขั้นต้นหรือที่เรียกว่า การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาขั้นต้นเพื่อสืบค้นหาความต้องการของสานสนเทศในมุมมองของผู้ใช้และหาข้อสรุปของแหล่งข้อมูลที่ต้องการ ราคา ผลประโยชน์ที่จะได้รับและความเป็นไปได้ของโครงการ
การวิเคราะห์ระบบ
               เมื่อไดก็ตามที่คุณต้องการพัฒนาระบบงานใหม่อย่างรวดเร็วหรือเกี่ยวข้องกับโครงการระยะยาวคุณจะต้องจัดทำกิจกรรมเบื้องต้นของการวิเคราะห์ระบบที่ขยายผลมาจาการศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ระบบมิใช่การศึกษาเบื้องต้นแต่เป็นการศึกษาอย่างลึกซึ้งของความต้องการสารสนเทศในการใช้งานของผู้ใช้เพื่อให้ได้รูปแบบความต้องการในการใช้งานขั้นพื้นฐาน
การวิเคราะห์องค์กร
               การวิเคราะห์องค์กรเป็นสิ่งสำคัญของการปรับปรุงระบบสารสนเทศได้อย่างไรหากไม่รู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่จะทำการวิเคราะห์ระบบ นี่เป็นเหตุที่ว่าทำไมทีมพัฒนาระบบจึงต้องรู้ในเรื่องเกี่ยวกับองค์กร โครงสร้างในการจัดการ บุคลากร กิจกรรมทางธุรกิจ สิ่งแวดล้มของระบบ ระบบสารสนเทศปัจจุบัน
การกำหนดรายละเอียดของระบบ (System Specifications)
               การกำหนดรายละเอียดของระบบ โดยทั่วไปหมายถึง วิธีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ของระบบงานโครงสร้างของฐานข้อมูล การประมวลผล และการควบคุมขั้นตอนการทำงาน ดังนั้น นักออกแบบระบบ จึงมักต้องพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายข้อมูล และการกำหนดรายละเอียดของบุคลากรสำหรับระบบที่วางแผนไว้
การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
               การสร้างต้นแบบ เป็นพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอนการทำงานของแบบจำลองหรือต้นแบบของระบบงานใหม่ ในการโต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรมที่เรียกว่าการวนรอบ โดยนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ การทำต้นแบบสามารถทำให้กระบวนการพัฒนาเร็วและง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ความต้องการของผู้ใช้นั้นยากแก่การเข้าใจอย่างชัดเจน
กระบวนการสร้างต้นแบบ (Prototyping Process)
               การสร้างต้นแบบสามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตามปกติแล้วระบบขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัฒนาจากระบบแบบเดิม ต้นแบบของระบบงานด้านธุรกิจที่เกิดจากความต้องการจากผู้ใช้นั้นจะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำหรือปรับแต่งในส่วนของรายละเอียดจนผู้ใช้ให้การยอมรับ
การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ (Maintenance of Information Systsems)
               การบำรุงรักษาระบบ (Systsems  Maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการสำรวจ (Monitoring) ประเมิน (Evaluation) และปรับเปลี่ยน (Modify) ระบบ เพื่อให้เป็นตามที่ต้องการหรือที่จำเป็น รวมไปถึงกระบวนการทบทวนผลหลังการนำระบบไปใช้งาน เพื่อเป็นการรับประกันได้ว่าระบบใหม่ที่ได้นำไปใช้นั้นตรงกับความต้องการใช้งานของธุรกิจที่ได้ตั้งไว้ตั้งแต่ตอนออกแบบ การแก้ไขข้อผิดพลาดจากขั้นตอนการพัฒนาระบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรมระบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรมระบบหรือคอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Computer-Aided Software Engineering) ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จที่เรียกว่า เคสทูล (CASE Tools) เพื่อจัดการกับงานของวงจรการพัฒนาระบบ เช่น การวางแผนธุรกิจ การจัดการโครงการส่วน ติดต่อกับผู้ใช้ ต้นแบบ การออกแบบฐานข้อมูล และการพัฒนาซอฟต์แวร์
การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development)
               คุณและผู้ใช้อื่นๆ สามารถสร้างแนวทางใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมโดยปราศจากความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศได้ โดยใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับผู้ใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ได้เอง เช่น การใช้โปรแกรมตารางทำการอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของยอดขายรายสัปดาห์
แหล่งที่มา : นายจตุพล กลิ่นศรีสุข


...............................................................................................................................................................................................


เเบบฝึกหัดหน่วยที่ 3

1. นักศึกษาใช้แนวคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหา เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาด้านการตลาด ทางด้าน การเงิน ทางด้านทรัพยากรมนุษย์หรือไม่ จงอธิบาย                     
ตอบ ใช้ เพราะแนวคิดเชิงระบบในการใช้แก้ปัญหานั้น เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ทุกทางของปัญหา และเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการจัดลำดับความคิดมากขึ้น

2. ทำไมนักศึกษาจึงคิดว่า การจัดทำต้นแบบ (Prototyping) จึงกลายมาเป็นที่นิยมในการพัฒนาระบบใหม่ทางธุรกิจที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นพื้นฐาน                      
 ตอบ เป็นการพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลองหรือต้นแบบของระบบงานใหม่ ในการโต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรม เรียก การรวนรอ  

3. ให้นักศึกษาอธิบายว่า ปัจจุบันมีการนำการจัดทำต้นแบบเข้ามาแทนที่ หรือมาเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศ                                                                             
ตอบ การสร้างต้นแบบสามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบงานขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัฒนาจากระบบแบบเดิม ต้นแบบของระบบงานด้านธุรกิจที่เกิดความต้องการจากผู้ใช้นั้นจะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำหรือปรับแต่งในส่วนของรายละเอียดจนผู้ใช้ให้การยอมรับ การทำต้นแบบขึ้นอยู่กับกระบวนการพัฒนาระบบสำหรับการใช้งานด้านธุรกิจ

5. มีซอฟต์แวร์ประยุกต์อะไรบ้าง ที่ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต เว็บไซต์
ตอบ   ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่ 7 แบบฝึกหัดเเละกรณีศึกษา

สรุปบทที่ 8 เเบบฝึกหัดเเละกรณีศึกษา

เเบบฝึกหัดบทที่ 4 เเละกรณีศึกษา