สรุปบทที่ 7 แบบฝึกหัดเเละกรณีศึกษา


บทที่ 7 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตัดสินใจด้านบริหาร
https://goo.gl/images/p8hpeB

การจัดการกับการตัดสินใจ
                การจัดการ (Management) หมายถึง การบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยใช้กระบวนการ และทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด
                กระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการหรืออำนวยการ และการควบคุม ผู้บริหารต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ
ระดับของการจัดการ
      การจัดการระดับสูง (Upper-level Management) ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ที่กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ วางแผนกลยุทธ์ และแผนระยะยาวขององค์การ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และสารสนเทศเกี่ยวกบแนวโน้มต่าง ๆ จากทั้งภายในและภายนอกองค์การ
      การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management) ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่วางแผนยุทธวิธี และประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง และบริหารงานระดับต้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ข้อสรุปและสารสนเทศต่าง ๆ ถูกรวบรวมมาทำการวิเคราะห์ และวางแนวทางในการดำเนินงาน
      การจัดการระดับต้น (Lower-level management) ผู้บริหารระดับต้น หรือหัวหน้างานมีหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานประจำวัน การทำงานมีรูปแบบที่แน่นอน ใกล้ชิดการผู้ปฏิบัติงาน การจัดการในระดับนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการดำเนินงานที่ละเอียดนำมาวิเคราะห์เพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ควบคุมให้สามารถดำเนินงานตามแผนระยะสั้นที่วางไว้
การตัดสินใจ (Decision Making)
                ขั้นตอนที่นำไปสู่การปฏิบัติเข้ารวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจด้วย ขั้นตอนการตัดสินใจที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ตรวจสอบเพื่อแยกแยะ กำหนดรายละเอียดของปัญหา
การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนการพัฒนา วิเคราะห์การปฏิบัติ รวมถึงการตรวจสอบ ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา ออกแบบทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
การคัดเลือก (Choice) เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหา สถานการณ์มากที่สุด ใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ ติดตามผลการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบการดำเนินงาน หากมีข้อขัดข้องจะต้องปรับปรุงให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์
ระดับการตัดสินใจภายในองค์การ
การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจการขยายกิจการ สารในเทศมีขอบเขตกว้าง มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การ เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ตามผู้บริการระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต เป็นต้น
การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ หรือหัวหน้างาน เกี่ยวข้องกับงานประจำ การปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า ทำการตัดสินใจได้อัตโนมัติ เพราะเป็นปัญหาเรื่องซ้ำๆกัน เช่น การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ การมอบหมายงานให้พนักงาน สารสนเทศที่ใช้การตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลภายในองค์การ
ประเภทการตัดสินใจ
การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีขั้นตอน กระบวนการในการแก้ปัญหาที่แน่ชัด สามารถกำหนดโครงสร้าง หรือกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าคงคลัง
การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจล่วงหน้า เช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถระบุกระบวนการ หรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วน แต่ไม่มากพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจตามที่แนะนำได้อย่างแน่นอน ต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ตัดสินใจ เช่น โมเดลทางคณิตศาสตร์ ทางสถิติ ทางการเงิน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                เทคโนโลยีและการสื่อสารมีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูงจึงเข้ามาเกี่ยวข้องและใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถช่วยองค์การแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์การ ระบบสารสนเทศอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                ระบบ DSS คือ ระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ระบบได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย และสะดวก มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
                ระบบ DSS ผู้บริหารสามารถทดสอบการเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถามในลักษณะ "ถ้า…..แล้ว…." จะช่วยให้มีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างหลากหลายทางเลือก
ส่วนประกอบของระบบ DSS
      ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูล สารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ระบบ DSS เชื่อมต่อการฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการตัดสินใจมาใช้
      ส่วนจัดการโมเดล (Model Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง ระบบฐานแบบจำลอง ภาษาแบบจำลอง สารบัญแบบจำลอง  และส่วนดำเนินการแบบจำลอง
ฐานแบบจำลอง จัดเก็บแบบจำลองที่มีความสามารถในการวิเคราะห์  มีระบบจัดการฐานแบบจำลอง เป็นซอฟต์แวร์ในการสร้าง และจัดการแบบจำลอง ระบบจัดการฐานแบบจำลองมีหน้าที่หลัก ดังนี้
–  สร้างแบบจำลองของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
–  สามารถจัดเก็บและจัดการแบบจำลองชนิดต่างๆ
–  สามารถจัดกลุ่มและแสดงสารบัญของแบบจำลอง
–  สามารถติดตามการใช้แบบจำลองและข้อมูล
–  สามารถเชื่อมโยงแบบจำลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมโดยผ่านทางฐานข้อมูล
การใช้แบบจำลอง หรือตัวช่วยแก้ปัญหาการตัดสินใจมีข้อดีที่ช่วยให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ ทำได้อย่างประหยัด  ตัวแบบยังช่วยให้สามารถทดลองแก้ปัญหาโดยยังไม่ต้องทำกับสภาพเป็นจริง แบบจำลองเพื่อการตัดสินใจมีหลายประเภท DSS ถูกสร้างขึ้นมา ประกอบด้วยแบบจำลองที่แตกต่างกัน แบบจำลองมีตัวอย่าง ดังนี้
   แบบจำลองทางสถิติ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบต่าง ๆ
     แบบจำลองเพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุด เป็นการหาค่าเหมาะสมที่สุดของตัวแปรตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่ำสุด
   แบบจำลองสถานการณ์ เป็นตัวแบบคณิตศาสตร์ที่ใช้การสร้างชุดสมการเพื่อแทนสภาพของระบบที่ทำการศึกษาแล้วทำการทดลองจากตัวแบบเพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดกับระบบ
      ส่วนจัดการโต้ตอบ (Dialogue Management Subsystem) เรียกว่า ส่วนการประสานผู้ใช้ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบ เพื่อให้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลนำเข้าและรูปแบบจำลองรวมอยู่ในการวิเคราะห์ได้ เช่น การใช้เมาส์ การใช้ระบบสัมผัสในการติดต่อกับระบบ
      ส่วนจัดการองค์ความรู้ (Knowledge-based Management Subsystem) ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างหลายปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก ต้องการความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา  DSS ขั้นสูงมีส่วนที่เรียกว่าการจัดการองค์ความรู้เพิ่มมาเป็นส่วนประกอบอื่นของระบบ DSS ให้ทำงานดีขึ้น  ระบบ DSSมีส่วนจัดการองค์ความรู้ประกอบด้วย เรียกว่า
     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจชาญฉลาด (Intelligence DSS)
     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและผู้เชี่ยวชาญอิงฐานความรู้ (DSS/ES)
     ระบบสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ (Expert Support System)
     ระบบแอ็กทีฟ ดีเอสเอส (Active DSS)
    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอิงฐานความรู้ (Knowledge-based DSS)
ประเภทของระบบ DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก (Model-driven DSS) เป็นระบบที่ใช้การจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่าง ๆ เช่น โมเดลทางการบัญชี ซึ่งสามารถวิเคราะห์ระบบขึ้นอยู่กับเครื่องมือซอฟต์แวร์
      ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก (Data-driven DSS)  เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลจากฐานข้อมูลองค์การ ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งอาจนำเอาระบบโอแลปมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1.สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง นำสารสนเทศจากระบบมาประกอบการตัดสินใจ
2.สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
3.สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่มได้ เนื่องจากปัญหาแตกต่างกันต้องอาศัยการตัดสินใจจากหลายคนร่วมกัน
4.สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน และปัญหาแบบต่อเนื่อง
5. สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
6. สนับสนุนการตัดสินใจหลายรูปแบบ
7. สามารถปรับข้อมูลเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นสูง
8. สามารถใช้งานได้ง่าย
9. เพิ่มประสิทธิผลในการตัดสินใจ
10.ผู้ทำการตัดสินใจสามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจแก้ปัญหา
11.ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบ DSS ขนาดเล็กที่มีการทำงานงานแบบง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง
12.มีการใช้แบบจำลองต่าง ๆ ช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ
13.สามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ความแตกต่างระหว่างระบบ DSS และระบบสารสนเทศอื่น

                ระบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำให้ฝ่ายบริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิเคราะห์ขององค์การ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และสารสนเทศสำหรับการวางแผนและตัดสินใจที่เกี่ยวกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ต่างจากระบบ TPS และระบบ MIS โดยระบบ TPS มีการจัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวัน ใช้ระบบที่สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติการ สำหรับระบบ MIS ให้สารสนเทศควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงาน และสรุปผลการดำเนินงาน ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาแบบโครงสร้างได้
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล
                เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกซื้อประกันรถยนต์โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของผู้ให้ประกัน และกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบคำนวณเบี้ยประกันให้ตามที่ต้องการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)
                การตัดสินใจปัญหาบางส่วนในองค์กรอาจต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะทำงาน เนื่องจากปัญหานั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  การให้บุคคลเดียวตัดสินใจแก้ปัญหาอาจไม่รอบคอบและถูกต้อง จึงอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม GDSS เป็นระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่ง เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของสมาชิกเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นภายในกลุ่มได้ เพราะสมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน
ส่วนประกอบของ GDSS
อุปกรณ์  ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุม เช่น การจัดห้องประชุม โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ อยู่ในลักษณะที่เกื้อหนุนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ชุดคำสั่ง (Software) เป็นชุดคำสั่งสำหรับกลุ่มที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างทางเลือก ประกอบด้วย แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือช่วยกำหนดนโยบาย รวมถึงซอฟต์แวร์เครือข่าย
ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model Base) ประกอบด้วยแบบจำลองเช่นเดียวกับระบบ DSS ส่วนบุคคล เช่น แบบจำลองเชิงปริมาณ แบบจำลองทางการเงิน เป็นต้น
บุคลากร (People) ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่มและผู้สนับสนุนด้านต่าง ๆ
ประโยชน์ของ GDSS ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนี้

ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกกลุ่ม
ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
ช่วยประหยัดเวลาในการประชุม สามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้

แหล่งที่มา : สุกัญญา  ดัชถุยาวัตร
  



เเบบฝึกหัดบทที่ 7 
1. อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสามารถของผู้บริหารในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามความต้องการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และความสามารถจัดการเรื่องบริหารการตัดสินใจโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบการตัดสินใจเป็นประเภทหลักของระบบสารสนเทศที่คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจระหว่างขั้นตอนตัดสินใจระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้คือ
       1.รูปแบบจำลองในการวิเคราะห์
       2.ฐานข้อมูลเฉพาะ
       3.ผู้ที่ตัดสินใจหรือหรือผู้ตัดสิน
       4.การติดต่อระหว่างกัน
2. ระบบงานการขาย มีความก้าวหน้ากว่า แต่ก่อนมาก เมื่อต้องการข้อมูลสำหรับการทำงานในองค์กร เนื่องจากความต้องการเรื่องกลยุทธ์ และการบริหารการตัดสินใจในธุรกิจเปลี่ยนไป ให้นักศึกษาอธิบายเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนี้
ตอบ  แผนกลยุทธ์ คือการตัดสินใจวางแผนอย่างมีระบบ  มีทิศทางมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน  มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม  เพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต
โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของทุกฝ่าย เทคนิค คือ กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให ้ กระบวน การ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิค การสอน จึงหมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนิน การทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยาย ผู้สอนอาจ ใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช ้ สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น
    การทำให้องค์การสามารถปฏิบัติงานได้ จะต้องมีความรู้เรื่องทักษะของคน ความเข้าใจคน การสร้างความประทับใจที่ดีต่อบุคคล การใช้เวลาที่เหมาะสม การไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อประกอบในการตัดสินใจในการบริหารงาน
3. มีแนวทางไหนบ้าง ที่นักศึกษาใช้โปรแกรมตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support system : DSS)ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารต่างๆ ระบบ DSS จะมีความสามารถในการใช้งานได้ดีกว่าระบบประมวลผลรายการและระบบรายงานการจัดการ เนื่องจากระบบ DSS สามารถที่จะปรับเปลี่ยนตัวแปร ที่แตกต่าง กันและทำการวิเคราะห์ใหม่ได้ 
4. ทำไมการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง จึงขยายไปยังระดับกลาง และขยายไปทั่วหมดทุกแผนกในองค์กร
ตอบ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การอย่างละเอียดและกว้างขวางจะต้องเป็นผู้รู้ความเป็นไปของธุรกิจ การดำเนินงาน รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นผลให้ก่อประโยชน์ต่อองค์การหลีกเลี่ยงการพูดที่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์การ
5. ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้ อธิบายเหตุผล
ตอบ คอมพิวเตอร์คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์อเนกประสงค์ที่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ (tools) สำหรับเพิ่มปรสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆๆ ให้ได้ตามต้องการของมนุษย์ เช่น ด้านการศึกษางานวิจัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ   ระบบคอมพิวพิวเตอร์ คือ กลุ่มของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รวมตัวเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันประเมินผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ (ELECTRONIC DATA PROCESSING )
หรือประมวลผลข้อมูล (INFORMATION PROCESSING) นั้นเพมื่อให้ได้ข่าวสารตรงตามที่ต้องการ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูล (INCOMING DATA) ประมวลผลข้อมูล(PROCESSING) แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลนั้นๆ (OUTPUT) ให้กับผู้ใช้ 
6. การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในองค์กร ส่วนไหนสำคัญที่สุด บอกเหตุผลที่นักศึกษาเลือก
ตอบ ลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ เพราะเป็นการพัฒนาลักษณะลักษณะการทำงานที่เป็นธรรมชาติ เป็นการพิจรณาจากหลักของการปฏิบัติการทางปัญญาประดิษฐ์แป็นส่วนที่สำคัญในการใช้ธรรมชาติของมนุษย์
7. การผสมผสานระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท จะก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาคาดหวังจะเกิดเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นการนำเอาระบบต่างๆ หรือเทคนิคต่างๆ ของปัญญาประดิษฐ์ที่กล่าวข้างต้นมาบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการบูรณาการระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญกับระบบเครือข่ายนิวรอนเข้าด้วยกัน เช่น โปรแกรมประยุกต์ดาต้าไมนิ่ง ด้านการตลาดและการขายของบริษัท จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ได้สร้างผลิตภัณฑ์มีรวบรวมเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ผสมผสานเพียงหนึ่งเดียว โดยประกอบด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับความนิยม ตัว คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท เช่น การรวมเอาระบบ ES/NNที่อาจจะพบกับแนวโน้มหรือการค้นหาความสัมพันธ์ที่ซ้อนอยู่ (ตามที่ตาข่ายเส้นประสาททำอยู่) และหลังจากนั้นจะมีการวินิจฉัยและตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ในส่วนของปัญหาเฉพาะ (ตามที่ระบบผู้เชี่ยวชาญทำอยู่)
8. อะไรคือขอบเขตจำกัด หรืออันตรายที่นักศึกษามองเห็นในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ตอบ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ
ความเป็นจริงเสมือน หรือ ความจริงเสมือน (อังกฤษvirtual realityหรือ VR) เป็นสภาพแวดล้อมที่จำลองโดยคอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในความเป็นจริงเสมือนส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิ่งที่เกี่ยวกับการมองเห็นแสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติ แต่การจำลองบางอันยังรวมไปถึงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสด้วย เช่น เสียงจากลำโพงหรือหูฟัง ระบบสำหรับทำการทดลองขั้นสูงยังรวมถึงการสัมผัสเช่นการตอบสนองต่อแรงป้อนกลับ โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเสมือนได้ทั้งการใช้อุปกรณ์นำเข้ามาตรฐานเช่น แป้นพิมพ์ หรือ เมาส์ หรือใช้อุปกรณ์หลายภาวะ เช่น ถุงมือโครงลวด แขนควบคุม หรือ คันบังคับหลายทิศทาง

แหล่งที่มา : aim-sukanya.blogspot.com/2011/08/7.html

.........................................................................................................................................................................................................

กรณีศึกษา

1.    ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น “ระบบสารสนเทศของทุกๆคน”
ตอบ  การทำงานร่วมกันของระบบอินทราเน็ตกลายเป็นสิ่งที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในแต่ละระดับอย่างเช่นผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญในทุกระดับสามารถใช้อินทราเน็ตในการเข้าถึงข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับปัจจัยหลักของธุรกิจและคู่แข่งขันกันได้
2.    อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินเทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
ตอบ  แนวคิดก็คือการที่ระบบอินทราเน็ตเป็นระบบสารสนเทศของทุกๆคนที่เราสามารถที่จะเข้าถึงได้ง่ายและสะดากกับการใช้งาน
3.    อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ  ช่วยเพิ่มการคืนทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตในบริษัท ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ

เเหล่งที่มา Sukanya

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่ 8 เเบบฝึกหัดเเละกรณีศึกษา

เเบบฝึกหัดบทที่ 4 เเละกรณีศึกษา